ข้อตวรระวังในการนวดไทย นวดเพื่อสุขภาพ
ข้อควรระวัง ข้อห้าม ข้อควรปฏิบัติหลังการนวด
นวดแผนไทย นวดไทย นวดเพื่อสุขภาพ
ข้อควรระวังในการนวดแผนโบราณ
- ในกรณีที่นวดท้อง ไม่ควรนวดผู้ที่รับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ (ไม่เกิน 30 นาที)
- ไม่นวดอย่างรุนแรงหรือนานเกินไป เพราะอาจเกิดการอักเสบ ฟกซ้ำมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณที่ไม่ค่อยมีกล้ามเนื้อ เช่น หน้าหู ใกล้กระดูกไหปลาร้า รักแร้ เป็นต้น
- กรณีผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ต้องระมัดระวังในการนวด ในกรณีเป็นความดันโลหิตสูงและเส้นเลือดแดงที่ท้องเป็นกระเปาะ ไม่ควรกดท้อง เพราะเสี่ยงต่อการทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ท้องปริตกจนมีอันตรายถึงเสียชีวิตได้
- ไม่ควรนวดผู้ที่มีอาการอักเสบติดเชื้อคือ มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส ปวด บวม แดง ร้อน
- ไม่ควรนวดผู้ที่เพิ่งประสบอุบัติเหตุใหม่ ๆ ควรได้รับการช่วยเหลือข้างต้น และตรวจวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หากเกินความสามารถควรประสานความร่วมมือกับแพทย์แผนปัจจุบัน
- หากมีการดัดหรือดึงร่วมด้วยจะต้องระวังมาก การดัดหรือดึงที่คออาจทำให้กระดูกคอทับเส้นประสาทได้ การดัดหลังอย่างรุนแรงอาจทำให้มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ ซึ่งหากมีเส้นประสาทอยู่ใกล้จะได้รับอันตรายไปด้วย
- การเปิดปิดประตูลมไม่ควรกดนานกว่า 45 วินาที และอย่าใช้แรงกดมากเกินไป เพราะอาจทำให้หลอดเลือดช้ำอักเสบ รวมทั้งเส้นประสาทขาดเลือดไปเลี้ยงนานเกินไป ทำให้เกิดอาการชา
ข้อห้ามในการนวดแผนโบราณ
ในกรณีที่มีอาการเหล่านี้ ห้ามทำการนวดแผนโบราณโดยเด็ดขาด
- โรคติดเชื้อ มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว
- โรคผิวหนัง เพราะจะทำให้เชื้อแพร่ออกไปบริเวณอื่น และแพร่มาสู่ผู้นวดด้วย
- ขณะมีอาการอักเสบ เพราะจะทำให้การอักเสบมากขึ้น
- บริเวณที่มีบาดแผลห้ามนวด อาจทำให้แผลซ้ำ หรือแผลปริแยก
- บริเวณที่เป็นมะเร็ง จะทำให้มะเร็งแพร่ออกไป
► ข้อควรปฏิบัติหลังการนวดแผนโบราณ
งดอาหารแสลง เช่น อาหารมัน อาหารทอด หน่อไม้ ข้าวเหนียว เครื่องในสัตว์ เบียร์ ของหมักดอง
ห้าม สลัด บีบ ดัด ส่วนที่มีอาการปวด
ให้ออกกำลังกายเฉพาะโรคและอาการตามคำแนะนำ